ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์....สิ่งมีชีวิต ม.6 ห้อง1

คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต

              คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต
      ความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตนั้นมีหลายประการ ในการศึกษาทางด้านชีววิทยามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องสามารถแยกให้ได้ว่าสิ่งใดคือสิ่งมีชีวิตและสิ่งใดคือสิ่งไม่มีชีวิตเสียก่อน จึงสามารถศึกษาในขั้นต่อไปได้อย่างถูกต้อง ซึ่งลักษณะที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต ได้แก่
      1. สิ่งมีชีวิตมีโครงสร้างและการทำหน้าที่อย่างเป็นระบบ (organization)     ในสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตชั้นสูงจะมีการทำงานประสานกันตั้งแต่ระดับหน่วยย่อยภายในเซลล์ (organelle) กลุ่มเซลล์ (tissue) และอวัยวะ (organ) ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ดังภาพ 1.2 สิ่งมีชีวิตมีการจัดระบบ

      2. สิ่งมีชีวิตมีการรักษาดุลภาพของร่างกาย (homeostasis)    การรักษาดุลภาพของร่างกาย เช่น การรักษาดุลภาพของอุณหภูมิ การรักษาดุลภาพของความเป็นกรด-เบส (pH) การรักษาดุลภาพของน้ำและเกลือแร่ ระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้เพื่อไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์

      3. สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัว (adaptation)     สิ่งมีชีวิตพยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ เช่น การเปลี่ยนสีของผิวหนังในสัตว์เลื้อยคลาน เพื่ออำพรางศัตรู การที่ปลามีรูปร่างเพรียวไม่ต้านกระแสน้ำ การลดรูปของใบจนมีลักษณะคล้ายเข็มในต้นกระบองเพ็ดเพื่อลดการสูญเสียน้ำเพราะเจริญอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นทะเลทราย การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเป็นไปก็เพื่อให้้สามารถอยู่รอดในสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่และสามารถสืบทอดลูกหลานต่อไปได้นั่นเอง ดังภาพ 1.3 การปรับตัวในพืชและสัตว์


                                              การปรับตัวในพืชและสัตว์
      4. สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์และถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม (reproduction and heredity)
สิ่งมีชีวิตต้องสามารถสืบพันธุ์ได้ เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ไม่ให้สูญสิ้นไป โดยอาจอาศัยวิธีีสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ (sexual reproduction) หรือไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองวิธีก็ได้ เมื่อมีการสืบพันธุ์ สิ่งมีชีวิตจะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปยังลูกหลานโดยอาศัยสารพันธุกรรมซึ่งได้แก่ ดีเอ็นเอ และอาร์เอ็นเอ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นตัวเก็บรหัสทางพันธุกรรมของรุ่นพ่อ-แม่ไว้นั่นเอง




      5. สิ่งมีชีวิตมีการเจริญเติบโตและพัฒนารูปร่าง (growth and development)     ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หลังจากมีการสืบพันธุ์ให้ลูกหลานแล้ว เซลล์ลูกเริ่มแรกจะมีขนาดเล็กหลังจากได้รับสารอาหารจะมีการเจริญเติบโตขยายขนาดใหญ่ขึ้นและพัฒนาจนเป็นเซลล์ที่พร้อมจะสืบพันธุ์ได้ (mature cell) ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จะมีกระบวนการเจริญเติบโตและพัฒนาที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์ (cell differentiation) เพื่อให้เหมาะกับการทำหน้าที่แต่ละอย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปร่างเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์กล้ามเนื้อเพื่อให้เหมาะสมกับการทำหน้าที่เคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นต้น



                                              การเจริญเติบโตของมนุษย์
      
        6. สิ่งมีชีวิตต้องการพลังงาน (energy) และสร้างพลังงาน      สิ่งมีชีวิตต้องการพลังงานเพื่อนำมาสร้างสาร ATP (adenosine triphosphate) โดยผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึม (metabolism) ATP เป็นสารที่ใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆภายในร่างกายสิ่งมีชีวิต เช่น การสืบพันธุ์ การเจริญเติบโต การเคลื่อนไหว ฯลฯ พลังงานที่สิ่งมีชีวิตต้องการดังกล่าวอาจได้มาจากแหล่งต่างๆ เช่น พืช ได้พลังงานจากแสงอาทิตย์ สัตว์ได้พลังงานจากปฏิกิริยาเคมีของสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ไวรัส ได้พลังงานจากสิ่งมีชีวิตอื่น


                                       กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง



                                             กระบวนการสลายสารอาหาร



        7. สิ่งมีชีวิตมีการรับรู้ต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น (sensitivity)    สิ่งมีชีวิตสามารถรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ในลักษณะต่างๆ กัน เช่น การเจริญเข้าหาแสงของต้นพืช การเจริญเติบโตช้าลงของจุลินทรีย์เมื่ออยู่ในที่อุณหภูมิิต่ำ 4 องศาเซลเซียส การเคลื่อนที่เข้าหาสารอาหารของพารามีเซียม
เป็นต้น


                                   การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของต้นกาบหอยแครง


                                      การหุบของใบต้นไมยราบเมื่อได้รับการสัมผัส










2 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีค่ะ...ฉันอาจเป็นคนหนึ่งที่มีความใฝ่ฝันอยากเป็นครูและได้เรียนจนจบเพื่อมาพัฒนาเด็กๆที่ฉันรักให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้ เป็นคนรุ่นใหม่ในสังคมยุคใหม่

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การได้แบ่งปันความรู้ให้คนอื่นเราจะได้ความสุขกลับมาแทนเสมอค่ะ😊

      ลบ